วันศุกร์

หมากผู้หมากเมีย



เพื่อนๆค่ะ ไม้ประดับชนิดหนึ่งที่เราเคยเห็นบ่อยๆตามสวนที่ใช้ตกแต่งอาคารบ้านเรือน และยังถือว่าเป็นไม้มงคลโดยเฉพาะคู่สามี-ภรรยา คุ้นๆมั้ยค่ะว่า คนชอบสวน พูดถึงไม้ชนิดไหน เฉลยเลยนะค่ะ หมากผู้หมากเมีย

หมากผู้หมากเมีย

ชื่อสามัญ          Ti log plant

ชื่อวิทยาศาสตร์  Coedyline sp.

ตระกูล             AGAVACEAE

ถิ่นกำเนิด         ในเขตร้อน เช่น อินเดีย ไทย มาเลเซีย

ลักษณะทั่วไป

  • หมากผู้หมากเมีย เป็นไม้ใบที่มีสีสันสวนงาม ลักษณะของหมากผู้หมากเมียจะคล้ายๆกับวาสนามาก เราจะเห็นหมากผู้หมากเมียใช้ปลูกประดับสวนอยู่ทั่วไป 
  • ซึ่งมีทั้งไม้พุ่มและไม้ยืนต้น ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-3 เมตร ลำต้นมีข้อถี่ๆสีน้ำตาลอ่อน บางต้นก็จะสูงชลูดเป็นลำต้นเดี่ยวๆ แต่บางพันธุ์ก็จะแตกกิ่งแขนงออกจากต้นเดิม 
  • ใบเป็นใบเดี่ยว ใบจะแตกออกจากยอดของลำต้นมีสีสันต่างๆ เช่น ม่วง แดง ชมพู เหลือง ส้ม ขาว หรืออาจมีหลายๆสีรวมกัน
  • ใบจะมีหลายลักษณะ เช่น ใบหอก ใบพาย ใบอ้อย ใบแคบเรียวยาว และใบรูปเข็ม เป็นต้น
  • ออกดอกเป็นช่อ ออกตรงส่วนยอดของลำต้น ปลายดอกมีกลุ่มดอกเล็กๆ ช่อหนึ่งจะมีช่อย่อยประมาณ 5-10 ดอก

การดูแลรักษา

แสง  ชอบแสงแดดพอประมาณ หรือแดดรำไร 

น้ำ  ต้องการน้ำมาก ควรให้น้ำ 3-5 วัน/ครั้ง

ดิน  เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ที่มีอินทรีย์วัตถุสูง

ปุ๋ย  ใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักที่โคนต้นปีละ 2ครั้ง

การขยายพันธุ์  โดยการปักขำ และตอนยอด

โรค   กรณีที่ปลูกกลางแจ้งจะไม่ค่อยพบโรครบกวน  เป็นไม้ที่ทนทานพอควร

แมลงที่พบ ได้แก่ ไรแดงและเพลี้ยหอย

วิธีการกำจัดแมลง ตัดกิ่งที่มีเพลี้ยหอยเผาทำลายแล้วฉีดพ่นยามาลาไธออน หรือไดอาซิน


การปลูกมี 2 วิธี ได้แก่
  1. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้าน จะทำเป็นแนวรั้วรอบบ้าน หรือปลุกบริเวณสวนหน้าบ้าน
  2. การปลูกในกระถาง เพื่อประดับภายในและภายนอกอาคาร ควรใช้กระถางทรงสูง ขนาด 8-12 นิ้ว

ความเชื่อของการปลูกหมากผู้หมากเมียไว้ประจำบ้าน จะทำให้อยู่เย็นเป็นสุข เพราะหมากผู้หมากเมียต้องเป็นของคู่กันเสมอ และยังนิยมใบหมากผู้หมากเมียใช้ในการประกอบพิธีต่างๆ เช่นใช้เป็นเครื่องบูชาพระ งานขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน เป็นต้น

เพื่อนๆค่ะ ชวนแฟนหรือคนที่บ้านมาปลูกต้นหมากผู้หมากเมียด้วยกันนะค่ะ มีคนบอกว่าให้ปลูกในวันอังคารจะดี คนชอบสวน ก็จะชวนคนที่บ้านปลูกเหมือนกันค่ะ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

.